วันศุกร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

google




By wathanya sathapitanon M.2/1 No.30



                   Googleคืออะไร

คือเป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการในการค้นหาข้อมูลในโลกของอินเตอร์เน็ต โดยค้นหาข้อมูลจากข้อความ หรือตัวอักษรที่พิมพ์เข้าไป แล้วทำการค้นหาข้อมูล รูปภาพ หรือเว็บเพจที่เกี่ยวข้องนำมาแสดงผล เว็บไซต์ Google ได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ต้องการค้นหาข้อมูล
Google Earth คืออะไร กูเกิล เอิร์ธ คือ โปรแกรมสำหรับดูภาพถ่ายทางอากาศ และแผนที่ ทั่วโลก

รายละเอียด
หมวดหลัก: สารานุกรม IT หมวด: ความหมาย คำ วลี คืออะไร  อัพเดทล่าสุดเมือ: 24 เมษายน 2555  ฮิต: 6492
ให้เรตสมาชิก
กรุณาให้คะแนน
Google Earth คืออะไร
Google Earth คือ โปรแกรมที่สร้างโดยบริษัท Google ใช้สำหรับดูภาพถ่ายทางอากาศพร้อมทั้งแผนที่ เส้นทาง และผังเมือง รวมทั้งระบบ จีไอเอส ในรูปแบบ 3 มิติ โปรแกรมนี้ช่วยให้เราศึกษาข้อมูลก่อนเดินทางได้เป็นอย่างดี ทำให้เราสามารถค้นหาที่ตั้งของสถานที่ที่เราจะเดินทางไป เส้นทางต่าง ๆ ของเมืองที่เราจะเดินทางไป รวมถึงแหล่งข้อมูลอื่น ๆ เช่น สภาพดินฟ้าอากาศ สำหรับรูปแบบการทำงานของ Google Earth นั้นก็จะเป็นการทำงานแบบ Client Server โปรแกรมส่วนที่พวกเราใช้งานจะเรียกว่า Google Earth client ซึ่ง Google ให้เรามาใช้งานฟรี
HTML คืออะไร
     HTML ย่อมาจาก Hyper Text Markup Language คือภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการแสดงผลของเอกสารบน website หรือที่เราเรียกกันว่าเว็บเพจ ถูกพัฒนาและกำหนดมาตรฐานโดยองค์กร World Wide Web Consortium (W3C) และจากการพัฒนาทางด้าน Software ของ Microsoft ทำให้ภาษา HTML เป็นอีกภาษาหนึ่งที่ใช้เขียนโปรแกรมได้ หรือที่เรียกว่า HTML Application
       HTML เป็นภาษาประเภท Markup   สำหรับการการสร้างเว็บเพจ โดยใช้ภาษา HTML สามารถทำโดยใช้โปรแกรม Text Editor ต่างๆ เช่น Notepad, Editplus หรือจะอาศัยโปรแกรมที่เป็นเครื่องมือช่วยสร้างเว็บเพจ เช่น Microsoft FrontPage, Dream Weaver ซึ่งอํานวยความสะดวกในการสร้างหน้า HTML ส่วนการเรียกใช้งานหรือทดสอบการทำงานของเอกสาร HTML จะใช้โปรแกรม web browser เช่น IE Microsoft Internet Explorer  (IE), Mozilla Firefox, Safari, Opera, และ Netscape Navigator เป็นต้น
Bug และ Debug คืออะไร
   bug คือจุดบกพร่องหรือความผิดพลาดในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ นอกจากปัญหาเกี่ยวกับโปรแกรมแล้ว อาจเป็นปัญหาเกี่ยวกับตัวเครื่องก็ได้ บางทีคนเขียนโปรแกรมอาจจงใจทำไว้ หรืออาจไม่ได้ตั้งใจก็ได้ เมื่อเกิด bug ในโปรแกรมขึ้นมาสร้างปัญหากวนใจ เราจะใช้การ debug หรือการตรวจสอบแก้ไขจุดบกพร่องของโปรแกรม การสั่งให้โปรแกรมทำการ Debug นั้นก็คือให้โปรมแกรมสามารถทำงานได้เป็นปกติเหมือนเดิม หรือก็คือการเอา Bug ในยุคก่อนนั้น ดูเหมือนว่าจะไม่ใคร่ได้รับความสนใจนัก เนื่องจากบั๊กนั้นไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานหรือผลไม่เด่นชัด โปรแกรมสมัยก่อนไม่ซับซ้อน แต่ปัจจุบันบั๊กเป็นของแถมที่ให้มาฟรีเมื่อซื้อซอฟต์แวร์เลยทีเดียว สังเกตได้ว่าหากมีโปรแกรมใดๆออกมาใหม่ เมื่อผ่านไปได้สองสามเดือน ผู้ผลิตจะได้รับรายงานผลจากผู้ใช้งานว่า เกิดปัญหาเกี่ยวกับการใช้งานซอฟต์แวร์ตรงนั้นตรงนี้ ทางผู้ผลิตก็จะเริ่มตรวจสอบและแก้ไขไปด้วย ซอฟต์แวร์ในระยะต่อมาก็จะเป็นชุดที่ได้รับการแก้ไขบั๊กดังกล่าวเรียบร้อยแล้ว หรือหากมีการแก้ไขมากกว่าเดิม ผู้ผลิตก็มักจะเปลี่ยนชื่อเวอร์ชั่นหรือชื่อรุ่นไป  e-book ย่อมาจากคำว่า electronic book หมายถึง หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นเอกสาร อิเล็กทรอนิกส์ โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์
        คุณลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมโยงจุดไปยังส่วนต่างๆ ของหนังสือ เว็บไซต์ต่างๆ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้อ่านได้ นอกจากนั้นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถแทรกภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว แบบทดสอบ และทั้งยังมีความสะดวกต่อการเผยแพร่และจัดพิมพ์เป็นเอกสาร อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือธรรมดาทั่วไป ลักษณะของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์จะมีความคล้ายคลึงกับหนังสือทั่วไปที่ พิมพ์ด้วยกระดาษ หากจะมีความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนก็ คือ กระบวนการผลิต รูปแบบ และวิธีการอ่านหนังสือ ทำให้ผู้อ่านสะดวกขึ้นเพราะไม่ต้องพกหนังสือหลายๆเล่มเพียงแค่มีคอมพิวเตอร์แบบพกพาติดตัว ก็สามารถพกหนังสือติดตัวได้ทีละหลายๆเล่ม
     doodle คือการเปลี่ยนโลโก้ของ Google ที่สนุก ตื่นเต้น และบางครั้งก็ทำโดยไม่ได้วางแผนมาก่อนเพื่อเฉลิมฉลองวันหยุด วันคล้ายวันเกิด และชีวิตของศิลปิน นักบุกเบิก และนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงทั้งหลาย

ความคิดเกี่ยวกับ doodle มีที่มาอย่างไร

     ในปี 1998 ก่อนที่บริษัทจะก่อตั้งขึ้นเสียอีก แนวคิดในเรื่อง doodle เกิดขึ้นเมื่อผู้ก่อตั้ง Google แลร์รี่และเซอร์เกย์ เล่นสนุกกับโลโก้ขององค์กร เพื่อแจ้งข่าวว่าเขาทั้งสองได้เข้าร่วมในเทศกาล Burning Man ที่ทะเลทรายเนวาดา พวกเขาใส่ภาพวาดรูปแท่งไม้หลัง "o" ตัวที่สองในคำว่า Google และตั้งใจให้โลโก้นี้เป็นข้อความเชิงตลกขบขันที่บอกผู้ใช้ Google ว่าในขณะนั้นผู้ก่อตั้ง "ไม่อยู่ในออฟฟิศ" แม้ doodle ภาพแรกจะค่อนข้างเรียบง่าย แต่แนวคิดในเรื่องการปรับแต่งโลโก้ของบริษัทเพื่อร่วมฉลองเหตุการณ์สำคัญๆ ก็ได้ถือกำเนิดขึ้น

     สองปีต่อมา (ปี 2000) แลร์รี่และเซอร์เกย์ได้ขอให้เดนนิส ฮวาง ผู้ดูแลเว็บคนปัจจุบัน โดยในเวลานั้นยังเป็นนักศึกษาฝึกงาน ช่วยออกแบบ doodle สำหรับวันชาติฝรั่งเศส ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีมากจากผู้ใช้ของเรา จนกระทั่งเดนนิสได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้าทีมนักออกแบบ doodle ของ Google จากนั้น doodle ก็เริ่มปรากฏโฉมบ่อยครั้งขึ้นเรื่อยๆ ในหน้าแรกของ Google ในช่วงแรก doodle มักจะถูกใช้เพื่อร่วมฉลองเทศกาลวันหยุดที่เป็นที่รู้จักกันดี แต่ทุกวันนี้ doodle เน้นเหตุการณ์และวันครบรอบต่างๆ ที่มีความหลากหลายมากขึ้น นับตั้งแต่วันคล้ายวันเกิดของจอห์น เจมส์ อูดูบอง ไปจนถึงไอศกรีมซันเดย์

     เมื่อเวลาผ่านไป ผู้คนทั้งในสหรัฐฯ และทั่วโลกต่างให้ความสนใจ doodle มากขึ้นเรื่อยๆ ในตอนนี้การสร้าง doodle เป็นความรับผิดชอบของทีมงานนักออกแบบภาพที่มีพรสวรรค์ (เราเรียกพวกเขาว่า doodler) และวิศวกร สำหรับพวกเขา การสร้าง doodle ได้กลายเป็นความพยายามของกลุ่มที่จะทำให้หน้าแรกของ Google มีชีวิตชีวาและสร้างรอยยิ้มแก่ผู้ใช้ Google ทั่วโลก

ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา Google ได้สร้าง doodle มาแล้วกี่ภาพ

     ทีมงานของเราได้สร้าง doodle กว่า 1,000 ภาพแล้วสำหรับหน้าแรกของเราในทั่วโลก

ใครเป็นคนเลือกว่าจะออกแบบ doodle อะไร และคุณมีวิธีตัดสินใจอย่างไรว่าเหตุการณ์ใดควรจะมี doodle

      ชาว Google กลุ่มหนึ่งประชุมร่วมกันเป็นประจำเพื่อระดมความคิดว่าเหตุการณ์ใดบ้างที่ doodle จะร่วมฉลองด้วย แนวคิดสำหรับ doodle ได้จากแหล่งข้อมูลมากมาย รวมทั้งจากชาว Google และผู้ใช้ Google เอง ขั้นตอนการคัดเลือก doodle นั้นตั้งเป้าหมายไว้ที่การร่วมฉลองเหตุการณ์และวันครบรอบที่น่าสนใจต่างๆ โดยสะท้อนให้เห็นถึงบุคลิกภาพ และความรักที่มีต่อนวัตกรรมของ Google

ใครเป็นผู้ออกแบบ doodle

      เรามีทีมงานนักออกแบบภาพ (เราเรียกพวกเขาว่า doodler) และวิศวกรที่อยู่เบื้องหลัง ทุกๆ doodle ทั้งหมดที่คุณเห็น

ผู้ใช้ Google/คนทั่วไปจะส่งไอเดียเกี่ยวกับ doodle ได้อย่างไร

      ทีมงาน doodle ตื่นเต้นทุกครั้งที่จะได้รับฟังแนวคิดจากผู้ใช้ โดยคุณสามารถส่งอีเมลมาได้ที่ proposals@google.com พร้อมทั้งบอกแนวคิดสำหรับ doodle ต่อไปของ Google เนื่องจากทีมงานได้รับคำขอจำนวนหลายร้อยฉบับทุกวัน เราจึงไม่สามารถตอบกลับทุกๆ คนได้ แต่วางใจได้ว่าเราอ่านเมลทุกฉบับแน่นอน


ข้อมูลอ้างอิง
http://th.wikipedia.org
http://www.vcharkarn.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น